The ASSURE Model การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบโดยใช้แบบจำลอง
การวิเคราะห์และออกแบบการใช้สื่อตามหลักของ Assure
ASSURE Model เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
A : Analyze Learner Characteristic
S : Stat Objective
S : Select, Modify or Design Materials
U : Utilize Materials
R : Require Learner Response
E : Evaluation
การนำบทเรียนมาสอดคล้องกับ ASSURE Model วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ลักษณะทั่วไป
วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 450 คน โดยคิดเฉลี่ยจำนวนนักเรียนจะมี 25 คนต่อชั้นเรียนอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7 ปี ระดับความรู้พื้นฐานอยู่ใกเกณฑ์ปานกลาง โดยส่วนมากผู้ปกครองมีอาชีพ ค้าขาย และ พนักงานบริษัท พนักงานโรงงานฐานะทางครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง และความสนใจพิเศษจะเป็นเรื่องของสื่อและเทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze Learner Characteristics)
วิชาภาษาไทย ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นระดับที่ไม่มีความรู้พื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคน และมีความไม่เข้าใจในวิชาภาษาไทย จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องปูพื้นฐานให้กับผู้เรียนแต่ละคน และสร้างเจตคติที่ดีของผู้เรียนต่อวิชาภาษาไทยให้ผู้เรียน เรียนแล้วสนุก และรู้สึกรักวิชาภาษาไทย
การกำหนดวัตถุประสงค์ (State Objectives)
1. พุทธิพิสัย
1.1 เน้นเกี่ยวกับคำ ระบบเสียงของภาษา ความหมายของคำ
1.2 การสร้างคำ คำสร้างใหม่ คำเกิดใหม่
1.3 การสร้างประโยค ลักษณะของประโยค การเรียงลำดับคำในประโยค การจำแนกคำ
1.4 การใช้ถ้อยคำ ราชาศัพท์ สำนวน คำพังเพย สุภาษิต การเขียนสะกดการันต์
2. จิตตพิสัย
2.1 เห็นคุณค่าของวิชาภาษาไทย
2.2 ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีวินัยในตนเอง
2.3 มีจิตสาธารณะ
3. ทักษะพิสัย
3.1 ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจงง่ายๆ
3.2 ใช้ภาษา น้ำเสียง กิริยาท่าทางเหมาะสมตามมารยาททางสังคมไทย
3.3 สามารถเข้าใจความหมายขอองคำที่พูดได้
3.4 มีทักษะในการใช้ภาษา
การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่ (Select, Modify, or Design Materials)
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งผู้เรียนในวัยนี้เป็นวัยที่ค่อนข้างเบื่อง่ายและชอบอะไรแปลใหม่ ความจำสั้น สมาธิสั้น ไม่ค่อยสนใจการเรียนการสอนผู้สอนจึงควรพัฒนาการสอนอยู่สม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย จึงดำเนินการดังนี้
1. การเลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
1. ภาษาพูด (verbal) เช่น คำพูด
สามารถถ่ายทอดและสื่อสารได้อย่างตรงไปตรงมา มีการตอบกลับในทันทีถ่ายทอดความรู้สึกได้อย่างถูกต้อง และต้องระวังในการใช้คำพูดและวิเคราะห์ถึงผลที่จะตามมาอย่างรวดเร็ว
2. ภาษาท่าทาง (nonverbal)
3. หนังสือ
2. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
- การอภิปรายกลุ่ม
- การฝึกปฏิบัติ
- การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
นำเนื้อหาการสอนมาโยงความสัมพันธ์เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ นำโน้ตบุ๊ค เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายโปรเจกเตอร์ในห้องเรียนเพื่อฉายเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนได้ดูและอธิบาย จะทำให้ผู้เรียนสนใจมากกว่าการอธิบายตามหนังสือ
การออกแบบสื่อใหม่
สรุปเนื้อหา นำเสนอแบบสื่อสไลด์ Power point ที่มีทั้งภาพ สี เสียง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน แล้วใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายโปรเจกเตอร์ในห้องเรียนเพื่อฉายให้ผู้เรียนได้ดู เข้าใจอย่างทั่วถึงและชัดเจน อีกทั้งพิมพ์ออกมาแจกให้ผู้เรียนด้วย
การใช้สื่อ (Utilize Materials)
ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ และทดลองใช้
โหลดเนื้อหาที่จะนำมาประกอบการสอน และวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียที่ผู้เรียนจะได้รับ
2. เตรียมสภาพแวดล้อม และจัดเตรียมสถานที่
พิจารณาสื่อว่าสื่อที่จะสอนนั้นเหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม่ และควรที่จะทำการสอนในลักษณะใกและสร้างสถานการในสถานการณ์การสอนให้เป็นแบบใด
3. เตรียมผู้เรียน
แจ้งผู้เรียนให้ทราบล่วงหน้าว่าในคราวต่อไปเราจะมีการเรียนการสอนในเรื่องใด รูปแบบใด และให้ผู้เรียนเตรียมความพร้อมโดยการทำความเข้าใจล่วงหน้า หรืออาจเตรียมของประกอบการเรียน
4. การนำเสนอ และควบคุมชั้นเรียน
นำเสนออย่างมีขั้นตอน มีการกล่าวถึงที่มาที่ไปเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เข้ากับเรื่องที่จะสอน
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน(Require Learner Response )
กำหนดการตอบสนองของผู้เรียนจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน แบบทดสอบ แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนทำ และกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในห้องเรียน เช่น การตอบคำถาม การทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม หรือการแสดงบทบาทสมมุติ และการกล่าวคำชมเชยทันทีที่ผู้เรียนตอบถูกหรือทำถูกเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนเอง มีความเข้าใจ และเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่
การประเมิน (Evaluation)
จะประเมินหลังจากใช้สื่อการสอนทันที ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหน ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ และประเมินอีกครั้งคือ การสังเกตว่าผู้เรียนนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรเช่น การประเมินกระบวนการสอน จะประเมินจากแบบทดสอบและการสังเกตความสนใจของผู้เรียนว่ามีความสนใจ ตั้งใจ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีวินัยในตนเอง มีจิตสาธารณะ และเห็นคุณค่าของวิชาภาษาอังกฤษเพียงใด การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน จะประเมินโดยการสอบถามความเข้าใจของผู้เรียน และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยการประเมินจากแบบฝึกหัด แบบทดสอบ และกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในห้อง และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น